ดนตรีเอเชีย ดนตรีจีน
การเผยแพรทางวัฒนธรรม
จีนใช้วงดนตรีเป็นหนึ่งในเครื่องมือเผยแพรวัฒนธรรมทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญเผยเทคนิคตั้งแต่ให้ทุนเรียนดนตรีในประเทศก้าวหน้า ทั้งรัสเซีย-ฝรั่งเศส เพื่อนำความรู้ดนตรีสากลกลับมาพัฒนาเครื่องดนตรีจีนให้ทันสมัย ยอมปรับทั้งรูปแบบเครื่องเล่น-เพิ่มเทคนิคทุกประเภท เลียนแบบ เปียโน พร้อมนำเครื่องดนตรีจีนเล่นบทเพลงคลาสสิกระดับโลกอย่างโมสาร์ท บีโทเฟน สร้างความคุ้นหูก่อนเข้าสู่สากล พบแหล่งเรียนดนตรีจีนในไทยยังน้อย มีแค่เรียนกู่เจิ่งระดับง่าย ชี้ดนตรีจีนเรียนยากต้องอาศัยใจรัก-อดทน
จีนได้ก้าวสู่ความเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่อันดับสองของโลก รองแต่กับเพียงแค่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น และมีแนวโน้มที่จะแซงสหรัฐฯในอีกไม่กี่ 10 ปี ข้างหน้า การที่จีนได้ก้าวมาสู่จุดนี้ได้ ซึ่งไม่เพียงมุ่งเฉพาะความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จีนยังได้เผยแพร่วัฒนธรรมผ่านทางภาษาและดนตรีจีนไปทั่วโลก โดยได้ลงทุนยกเครื่องดนตรีจีนโบราณหลายชนิด เพื่อเป้าประสงค์ในการเผยแพร่ให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ ให้ทุนหลวงส่งเรียนดนตรีสากลต่างชาติ
ทรงพล สุขุมวาท อาจารย์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีจีน ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งในระดับปริญญาโท อาจารย์ทรงพลได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องดนตรีจีนแต้จิ๋วด้วย กล่าวว่า การพัฒนาและเผยแพร่ดนตรีของจีน แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคแรกประมาณปี ค.ศ. 1911 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนที่ปกครองประเทศในระบอบคอมมิวนิสต์ได้มีการทำดนตรีจีน และเนื้อร้องเพลงจีน โดยแทรกอุดมการณ์ของจีนเข้าไปเพื่อเผยแพร่ไปทั่วประเทศจีนที่มีความกว้างใหญ่ ให้คนจีนได้ฟัง ซึ่งเป็นการปลุกกระแสความรักชาติผ่านการแสดงดนตรีจีน และอุปรากรจีน เพราะเป็นสื่อที่สามารถขยายไปได้ แม้แต่ในพื้นที่ห่างไกล ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่สร้างความเข้าใจกับประชาชนทุกกลุ่มคนได้ง่ายต่อมา ประมาณปี 2490 ดนตรีตะวันตกเริ่มเผยแพร่เข้าสู่จีน ทั้ง กลอง เบส กีตาร์ เครื่องเป่า ฯลฯ โดยเฉพาะใน เซี่ยงไฮ้ ดนตรีสากลได้เข้ามามีอิทธิพลแพร่หลายในจีนจนกระทั่ง 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้วางแผนและส่งเสริมที่จะเผยแพร่ดนตรีจีนไปทั่วโลก โดยจีนได้ลงทุนส่งนักศึกษาด้านดนตรีจีนไปเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติด้านดนตรีสากล ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางดนตรี ทั้ง ประเทศรัสเซีย ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ โดยรัฐบาลเป็นผู้ให้ทุนการศึกษาในการเรียนดนตรีสากลเหล่านี้ จุดประสงค์สำคัญคือเพื่อนำความรู้เหล่านั้นกลับพัฒนาเครื่องดนตรีจีนให้เข้าสู่สากลโดยเฉพาะคนจีนไปถึงไหน ดนตรีจีนก็ไปถึงที่นั่น สมัยก่อนแต่ละมณฑลของจีน ก็จะมีดนตรีจีน หรือทำนองเพลงจีนที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นจีน แต่พอจะมีการเผยแพร่ดนตรีจีนไปทั่วโลก จีนก็มุ่งพัฒนาและปรับปรุงเครื่องดนตรีจีน และเนื้อร้องทำนองเพลงจีนให้มีความเป็นสากลมากขึ้น เพื่อง่ายต่อการเผยแพร่ไปทั่วโลก
เปิดเครื่องดนตรีจีน 4 ประเภท-ฮิตระดับโลก
ส่วนเครื่องดนตรีจีน ปัจจุบันแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่เหมือนของไทย ได้แก่ ดีด สี ตี และเป่า
ประเภท สี จีนก็มีซอเหมือนไทย ซึ่งมีทรวดทรงคล้ายคลึงกับซอไทย ซอจีนมีหลายชนิด ซึ่งจะมีโทนเสียงไม่เหมือนกัน
ซอที่มีชื่อเสียงของจีนได้แก่ ซอเอ้อหู จะมีโทนเสียงทุ้มกว่าเสียงซอเสียงแหลมของจีน ซึ่งก็คือ เก้าฮู้ มีเสียงแหลมสูง โดยซอเอ้อหูจะมีลักษณะซอเป็นกระบอก 6 เหลี่ยม และ 8 เหลี่ยม ส่วนซอเก้าฮู้ มีกระบอกเป็นทรงกลม จุดแตกต่างที่สำคัญคือซอเอ้อหู เป็นซอที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เพราะสำเนียงเสียงของซอมีจุดเด่นที่เวลาเล่นเพลงเศร้า จะมีเสียงเศร้า อ่อนหวาน
แต่หากเล่นเพลงเร็ว ในจังหวะเร่ง ๆ ซอสามารถแสดงเสียงที่มีชีวิตชีวาได้ ซึ่งซอเอ้อหูนั้นยังมีจุดดีที่สามารถวางตำแหน่งมือได้ 5 ตำแหน่ง สามารถปฏิบัติและปรับให้เป็นสากลมากกว่า ซอประเภทอื่นของจีน
นอกจากซอเอ้อหูแล้ว ยังมีซอที่เล่นเพลงสำเนียงแต้จิ๋วโดยเฉพาะ คือ เถ้าอี้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายซอด้วงของไทย แต่ซอด้วงของไทยจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของซอใหญ่กว่าซอเถ้าอี้ของจีน ที่มีขนาดเล็กกว่าคือประมาณเหรียญ 10 บาทไทยเท่านั้น ซอนี้จะมีอยู่ที่แต้จิ๋วที่เดียว ขณะที่ปักกิ่งจะมีซอชื่อดังคือ ซอจิ่งฮู้ เป็นซอเสียงแหลม มีด้ามจับขนาดเล็กลงมา หัวสั้น ๆ ลักษณะเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ส่วนใหญ่ใช้ในการแสดงประกอบอุปรากรจีนที่ปักกิ่งเท่านั้น นอกจากนั้นก็จะมีซอกะลามะพร้าวเล็ก ซอกะลามะพร้าวใหญ่ที่คนจีนนิยมเล่นกันด้วย
อย่างไรก็ดี ในการเผยแพร่ไปทั่วโลก จีนได้ใช้การเผยแพร่ดนตรีหรือเครื่องดนตรีจีนผ่านการแสดงเป็นวงดนตรี และมีความพยายามในการใช้เครื่องดนตรีจีนที่คนรู้จักดี เช่นวง Twelve Girl ที่เคยมาแสดงในไทยหลายครั้ง โดยเฉพาะที่เยาวราช ก็เป็นวงดนตรีที่เผยแพร่ดนตรีจีนโดยเฉพาะ ซึ่งในเครื่องสีนี้ได้มีการนำซอเอ้อหูมาแสดงด้วย
จีนใช้วงดนตรีเป็นหนึ่งในเครื่องมือเผยแพรวัฒนธรรมทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญเผยเทคนิคตั้งแต่ให้ทุนเรียนดนตรีในประเทศก้าวหน้า ทั้งรัสเซีย-ฝรั่งเศส เพื่อนำความรู้ดนตรีสากลกลับมาพัฒนาเครื่องดนตรีจีนให้ทันสมัย ยอมปรับทั้งรูปแบบเครื่องเล่น-เพิ่มเทคนิคทุกประเภท เลียนแบบ เปียโน พร้อมนำเครื่องดนตรีจีนเล่นบทเพลงคลาสสิกระดับโลกอย่างโมสาร์ท บีโทเฟน สร้างความคุ้นหูก่อนเข้าสู่สากล พบแหล่งเรียนดนตรีจีนในไทยยังน้อย มีแค่เรียนกู่เจิ่งระดับง่าย ชี้ดนตรีจีนเรียนยากต้องอาศัยใจรัก-อดทน
จีนได้ก้าวสู่ความเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่อันดับสองของโลก รองแต่กับเพียงแค่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น และมีแนวโน้มที่จะแซงสหรัฐฯในอีกไม่กี่ 10 ปี ข้างหน้า การที่จีนได้ก้าวมาสู่จุดนี้ได้ ซึ่งไม่เพียงมุ่งเฉพาะความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จีนยังได้เผยแพร่วัฒนธรรมผ่านทางภาษาและดนตรีจีนไปทั่วโลก โดยได้ลงทุนยกเครื่องดนตรีจีนโบราณหลายชนิด เพื่อเป้าประสงค์ในการเผยแพร่ให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ ให้ทุนหลวงส่งเรียนดนตรีสากลต่างชาติ
ทรงพล สุขุมวาท อาจารย์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีจีน ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งในระดับปริญญาโท อาจารย์ทรงพลได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องดนตรีจีนแต้จิ๋วด้วย กล่าวว่า การพัฒนาและเผยแพร่ดนตรีของจีน แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคแรกประมาณปี ค.ศ. 1911 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนที่ปกครองประเทศในระบอบคอมมิวนิสต์ได้มีการทำดนตรีจีน และเนื้อร้องเพลงจีน โดยแทรกอุดมการณ์ของจีนเข้าไปเพื่อเผยแพร่ไปทั่วประเทศจีนที่มีความกว้างใหญ่ ให้คนจีนได้ฟัง ซึ่งเป็นการปลุกกระแสความรักชาติผ่านการแสดงดนตรีจีน และอุปรากรจีน เพราะเป็นสื่อที่สามารถขยายไปได้ แม้แต่ในพื้นที่ห่างไกล ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่สร้างความเข้าใจกับประชาชนทุกกลุ่มคนได้ง่ายต่อมา ประมาณปี 2490 ดนตรีตะวันตกเริ่มเผยแพร่เข้าสู่จีน ทั้ง กลอง เบส กีตาร์ เครื่องเป่า ฯลฯ โดยเฉพาะใน เซี่ยงไฮ้ ดนตรีสากลได้เข้ามามีอิทธิพลแพร่หลายในจีนจนกระทั่ง 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้วางแผนและส่งเสริมที่จะเผยแพร่ดนตรีจีนไปทั่วโลก โดยจีนได้ลงทุนส่งนักศึกษาด้านดนตรีจีนไปเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติด้านดนตรีสากล ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางดนตรี ทั้ง ประเทศรัสเซีย ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ โดยรัฐบาลเป็นผู้ให้ทุนการศึกษาในการเรียนดนตรีสากลเหล่านี้ จุดประสงค์สำคัญคือเพื่อนำความรู้เหล่านั้นกลับพัฒนาเครื่องดนตรีจีนให้เข้าสู่สากลโดยเฉพาะคนจีนไปถึงไหน ดนตรีจีนก็ไปถึงที่นั่น สมัยก่อนแต่ละมณฑลของจีน ก็จะมีดนตรีจีน หรือทำนองเพลงจีนที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นจีน แต่พอจะมีการเผยแพร่ดนตรีจีนไปทั่วโลก จีนก็มุ่งพัฒนาและปรับปรุงเครื่องดนตรีจีน และเนื้อร้องทำนองเพลงจีนให้มีความเป็นสากลมากขึ้น เพื่อง่ายต่อการเผยแพร่ไปทั่วโลก
เปิดเครื่องดนตรีจีน 4 ประเภท-ฮิตระดับโลก
ส่วนเครื่องดนตรีจีน ปัจจุบันแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่เหมือนของไทย ได้แก่ ดีด สี ตี และเป่า
ประเภท สี จีนก็มีซอเหมือนไทย ซึ่งมีทรวดทรงคล้ายคลึงกับซอไทย ซอจีนมีหลายชนิด ซึ่งจะมีโทนเสียงไม่เหมือนกัน
ซอที่มีชื่อเสียงของจีนได้แก่ ซอเอ้อหู จะมีโทนเสียงทุ้มกว่าเสียงซอเสียงแหลมของจีน ซึ่งก็คือ เก้าฮู้ มีเสียงแหลมสูง โดยซอเอ้อหูจะมีลักษณะซอเป็นกระบอก 6 เหลี่ยม และ 8 เหลี่ยม ส่วนซอเก้าฮู้ มีกระบอกเป็นทรงกลม จุดแตกต่างที่สำคัญคือซอเอ้อหู เป็นซอที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เพราะสำเนียงเสียงของซอมีจุดเด่นที่เวลาเล่นเพลงเศร้า จะมีเสียงเศร้า อ่อนหวาน
แต่หากเล่นเพลงเร็ว ในจังหวะเร่ง ๆ ซอสามารถแสดงเสียงที่มีชีวิตชีวาได้ ซึ่งซอเอ้อหูนั้นยังมีจุดดีที่สามารถวางตำแหน่งมือได้ 5 ตำแหน่ง สามารถปฏิบัติและปรับให้เป็นสากลมากกว่า ซอประเภทอื่นของจีน
นอกจากซอเอ้อหูแล้ว ยังมีซอที่เล่นเพลงสำเนียงแต้จิ๋วโดยเฉพาะ คือ เถ้าอี้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายซอด้วงของไทย แต่ซอด้วงของไทยจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของซอใหญ่กว่าซอเถ้าอี้ของจีน ที่มีขนาดเล็กกว่าคือประมาณเหรียญ 10 บาทไทยเท่านั้น ซอนี้จะมีอยู่ที่แต้จิ๋วที่เดียว ขณะที่ปักกิ่งจะมีซอชื่อดังคือ ซอจิ่งฮู้ เป็นซอเสียงแหลม มีด้ามจับขนาดเล็กลงมา หัวสั้น ๆ ลักษณะเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ส่วนใหญ่ใช้ในการแสดงประกอบอุปรากรจีนที่ปักกิ่งเท่านั้น นอกจากนั้นก็จะมีซอกะลามะพร้าวเล็ก ซอกะลามะพร้าวใหญ่ที่คนจีนนิยมเล่นกันด้วย
อย่างไรก็ดี ในการเผยแพร่ไปทั่วโลก จีนได้ใช้การเผยแพร่ดนตรีหรือเครื่องดนตรีจีนผ่านการแสดงเป็นวงดนตรี และมีความพยายามในการใช้เครื่องดนตรีจีนที่คนรู้จักดี เช่นวง Twelve Girl ที่เคยมาแสดงในไทยหลายครั้ง โดยเฉพาะที่เยาวราช ก็เป็นวงดนตรีที่เผยแพร่ดนตรีจีนโดยเฉพาะ ซึ่งในเครื่องสีนี้ได้มีการนำซอเอ้อหูมาแสดงด้วย
ขลุ่ยตี้จื้อลักษณะคล้ายฟลุตเสียงแหลมใส
เครื่องดนตรีประเภทเครื่อง เป่า ของจีน ที่มีชื่อเสียงคือ ขลุ่ยผิว ขลุ่ยผิวที่ใช้กันมากคือ ขลุ่ยตี้จื้อ มีโทนเสียงเป็นเอกลักษณ์ คือ มีโทนเสียงแหลมสดใส เสนาะหู มีหลายขนาดให้เลือกใช้ และลักษณะจะเป็นเหมือนฟลุต ซึ่งผู้หญิงนิยมเล่นเครื่องดนตรีประเภทนี้มาก เพราะเล่นแล้วจะดูสวย น่ารัก
ขลุ่ยตี้จื้อของจีน มีเสียงที่ไพเราะกว่าฟลุต เพราะฟลุตจะมีเสียงนุ่มแบบทื่อ ๆ ในโทนเสียงทุ้ม แม้เล่นในโทนเสียงแหลม ก็จะมีเสียงแหลมนุ่ม ขณะที่ขลุ่ยตี้จื้อของจีน จะมีเสียงสะท้อนแก้วเสียงจากเยื่อขลุ่ยซึ่งทำให้มีเสียงที่แหลมสดใส ไพเราะมาก
นอกจากนี้ก็มีขลุ่ยผิว ถ่งเซียว มีลักษณะตรงยาว มีโทนเสียงนุ่มนวล ไม่มีเสียงสะท้อนจากเยื่อขลุ่ยเหมือนขลุ่ยตี้จื้อ ในวงดนตรีใหญ่ ๆ จะใช้ขลุ่ยทั้ง 2 ชนิดนี้ในการแสดง เพราะเป็นขลุ่ยที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ก็จะมีขลุ่ยดิน และแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโบราณ ปัจจุบันนำมาใช้แสดงในการเล่นดนตรีพื้นเมืองเท่านั้น ไม่ได้นำมาใช้เพื่อเผยแพร่ดนตรีจีนไปทั่วโลก
พัฒนาเทคนิคตีขิมเทียบเสียงเปียโน
ส่วนเครื่องดนตรีประเภท ตี ของจีน ที่โดดเด่นคือ ขิม มีลักษณะคล้ายขิมไทยแต่จีนได้พัฒนาขิมจีนเป็นขิมขนาดใหญ่กว่าของไทย ซึ่งทำให้ขิมมีเสียงที่กว้างมากกว่า มีเสียงสูงและต่ำที่มากกว่าไทย จากลักษณะที่แตกต่างทั้งสาย และวัสดุทำขิมของจีน ทำให้มีเสียงที่ก้องกังวานกว่าขิมไทย ปัจจุบันจีนได้ปรับปรุงเสียงขิมขึ้นมาใหม่ให้มีระบบเสียงเป็นแบบสากลตะวันตก จากเดิมที่ขิมจะมีเสียงแตกต่างกันไปตามพื้นบ้าน พื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น ราวนมหรือที่รองสายของขิม ปกติจะมีแค่ 4 แถว แต่จีนได้พัฒนาจนปัจจุบันมีราวนม 5 แถว สามารถเล่นตัว โนตแบบครึ่งเสียงได้ เลียนแบบเสียงของเปียโน ซึ่งในแต่ละที่ก็จะมีการพัฒนาขิมเป็นหลายรุ่น มีหน้าตาแตกต่างกันไปนอกจากนี้ จีนได้พัฒนาเทคนิคการเล่นขิมที่หลากหลายมาก ปัจจุบันนอกจากตีขิมแล้ว ยังสามารถใช้ลูกเล่นในการเล่นขิมได้มากมาย เช่น ดึงดันสาย กดสายเสียงให้มีการเอื้อนขึ้น เอื้อนลง ตีทีหนึ่งสองสาย สามสาย หรือมือซ้ายตีทำนอง มือขวาตีสไตล์เล่นคอร์ดเพลงฯลฯ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ต้องฝึกฝนให้เชี่ยวชาญชำนาญ นักดนตรีจีนเกือบทุกคนเล่นเครื่องดนตรีสากลได้ทุกคน โดยเฉพาะเปียโน ปัจจุบันจึงมีการปรับนำบทเพลงสากล โดยเฉพาะเพลง Classic สากลมาเล่นโดยใช้เครื่องดนตรีเครื่องสายของจีน ทั้งเพลงของบีโทเฟ่น โมสาร์ท ฯลฯ จุดนี้ทำให้การเผยแพร่ดนตรีจีนไปสู่ทั่วโลกทำได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะเริ่มจากเพลงที่เป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วโลก ขณะที่เครื่องดนตรีไทยจะมีลักษณะอนุรักษ์นิยมมากกว่า
เครื่องดนตรีประเภทเครื่อง เป่า ของจีน ที่มีชื่อเสียงคือ ขลุ่ยผิว ขลุ่ยผิวที่ใช้กันมากคือ ขลุ่ยตี้จื้อ มีโทนเสียงเป็นเอกลักษณ์ คือ มีโทนเสียงแหลมสดใส เสนาะหู มีหลายขนาดให้เลือกใช้ และลักษณะจะเป็นเหมือนฟลุต ซึ่งผู้หญิงนิยมเล่นเครื่องดนตรีประเภทนี้มาก เพราะเล่นแล้วจะดูสวย น่ารัก
ขลุ่ยตี้จื้อของจีน มีเสียงที่ไพเราะกว่าฟลุต เพราะฟลุตจะมีเสียงนุ่มแบบทื่อ ๆ ในโทนเสียงทุ้ม แม้เล่นในโทนเสียงแหลม ก็จะมีเสียงแหลมนุ่ม ขณะที่ขลุ่ยตี้จื้อของจีน จะมีเสียงสะท้อนแก้วเสียงจากเยื่อขลุ่ยซึ่งทำให้มีเสียงที่แหลมสดใส ไพเราะมาก
นอกจากนี้ก็มีขลุ่ยผิว ถ่งเซียว มีลักษณะตรงยาว มีโทนเสียงนุ่มนวล ไม่มีเสียงสะท้อนจากเยื่อขลุ่ยเหมือนขลุ่ยตี้จื้อ ในวงดนตรีใหญ่ ๆ จะใช้ขลุ่ยทั้ง 2 ชนิดนี้ในการแสดง เพราะเป็นขลุ่ยที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ก็จะมีขลุ่ยดิน และแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโบราณ ปัจจุบันนำมาใช้แสดงในการเล่นดนตรีพื้นเมืองเท่านั้น ไม่ได้นำมาใช้เพื่อเผยแพร่ดนตรีจีนไปทั่วโลก
พัฒนาเทคนิคตีขิมเทียบเสียงเปียโน
ส่วนเครื่องดนตรีประเภท ตี ของจีน ที่โดดเด่นคือ ขิม มีลักษณะคล้ายขิมไทยแต่จีนได้พัฒนาขิมจีนเป็นขิมขนาดใหญ่กว่าของไทย ซึ่งทำให้ขิมมีเสียงที่กว้างมากกว่า มีเสียงสูงและต่ำที่มากกว่าไทย จากลักษณะที่แตกต่างทั้งสาย และวัสดุทำขิมของจีน ทำให้มีเสียงที่ก้องกังวานกว่าขิมไทย ปัจจุบันจีนได้ปรับปรุงเสียงขิมขึ้นมาใหม่ให้มีระบบเสียงเป็นแบบสากลตะวันตก จากเดิมที่ขิมจะมีเสียงแตกต่างกันไปตามพื้นบ้าน พื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น ราวนมหรือที่รองสายของขิม ปกติจะมีแค่ 4 แถว แต่จีนได้พัฒนาจนปัจจุบันมีราวนม 5 แถว สามารถเล่นตัว โนตแบบครึ่งเสียงได้ เลียนแบบเสียงของเปียโน ซึ่งในแต่ละที่ก็จะมีการพัฒนาขิมเป็นหลายรุ่น มีหน้าตาแตกต่างกันไปนอกจากนี้ จีนได้พัฒนาเทคนิคการเล่นขิมที่หลากหลายมาก ปัจจุบันนอกจากตีขิมแล้ว ยังสามารถใช้ลูกเล่นในการเล่นขิมได้มากมาย เช่น ดึงดันสาย กดสายเสียงให้มีการเอื้อนขึ้น เอื้อนลง ตีทีหนึ่งสองสาย สามสาย หรือมือซ้ายตีทำนอง มือขวาตีสไตล์เล่นคอร์ดเพลงฯลฯ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ต้องฝึกฝนให้เชี่ยวชาญชำนาญ นักดนตรีจีนเกือบทุกคนเล่นเครื่องดนตรีสากลได้ทุกคน โดยเฉพาะเปียโน ปัจจุบันจึงมีการปรับนำบทเพลงสากล โดยเฉพาะเพลง Classic สากลมาเล่นโดยใช้เครื่องดนตรีเครื่องสายของจีน ทั้งเพลงของบีโทเฟ่น โมสาร์ท ฯลฯ จุดนี้ทำให้การเผยแพร่ดนตรีจีนไปสู่ทั่วโลกทำได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะเริ่มจากเพลงที่เป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วโลก ขณะที่เครื่องดนตรีไทยจะมีลักษณะอนุรักษ์นิยมมากกว่า
กู่เจิ่ง
จรเข้โบราณมังกร
ขณะที่เครื่องดนตรีประเภท ดีด ของจีน เวลานี้นับว่าเป็นที่นิยมไปทั่วโลกเช่นกัน โดยเฉพาะที่รู้จักกันดีมากคือ กู่เจิ่งหรือ กูเจิง หรือจระเข้จีนโบราณ คนจีนจะเรียกว่า เจิ่ง เดิมคนที่เป็นบัณฑิตเท่านั้นถึงจะได้เล่นกู่เจิ่ง ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดนี้จะมีโทนเสียงที่ตั้งไว้แบบเฉพาะเจาะจง จึงเหมาะในการเล่นเพลงโบราณของจีนโดยเฉพาะ กู่เจิ่งจึงเป็นเครื่องดนตรีเดียวของจีน ที่เครื่องดนตรีอื่นต้องปรับเสียงให้เข้ากับกู่เจิ่งในการแสดงแบบวงดนตรี ซึ่งจีนได้แก้ไขปัญหานี้โดยใช้กู่เจิ่ง 2 หลังในการแสดงแบบวงดนตรี เพื่อเล่นโทนเสียงได้มากขึ้น ขณะเดียวกันจีนก็มีเครื่องดีดที่เด่นมากอีกชนิดหนึ่งคือ พิณผี่ผา มีบทบาทเด่นในการเป็นเครื่องดนตรีที่ให้ความบันเทิง มีลักษณะเหมือนลูกแพร์ผ่าซีกคือตอนเล่นต้องวางตั้งฉากกับพื้น เป็นเครื่องเล่นที่สามารถเล่นเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยวได้ เดิมเป็นเครื่องดนตรีของทางตะวันออกกลาง แต่มีการเผยแพร่เข้าจีน และอยู่ในจีนเป็นพันปี ปัจจุบันเป็นเครื่องดนตรีสำคัญของจีนชนิดหนึ่ง
พิณผี่ผาเรียนยากสุด-ต้องใจรัก
การเล่นพิณผี่ผา มีเทคนิคที่ซับซ้อนและพัฒนาไปจากโบราณมาก คือสามารถเล่นได้ทั้งมือซ้าย มือขวา ดึงดันสาย และนักประพันธ์เพลงจีนปัจจุบันได้แต่งเพลงให้สำหรับเล่นกับพิณผี่ผาจำนวนมาก แต่การเล่นพิณผี่ผานั้นเล่นยาก คนจึงนิยมเล่นน้อย พิณผี่ผานั้นสามารถเรียนได้ตั้งแต่เด็กอายุ 4-5 ขวบ เพราะมีไซส์ขนาดเล็ก แต่ในเมืองไทยมีแต่คนที่โตแล้วมาเรียน ส่วนใหญ่แล้วหากจะเรียนดนตรีจีนในหลาย ๆ ประเภท ปัจจุบันไม่มีแหล่งเรียนมากนัก มีเฉพาะในระดับวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย เท่านั้น ยกเว้น กู่เจิ่ง ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนพิเศษเปิดสอนขึ้นมาโดยทั่วไป แต่จะเป็นการเรียนเล่นในเพลงง่าย ๆ เพื่อให้เป็นเร็วอย่างไรก็ดีเครื่องดนตรีจีนทั้งหมด พิณผี่ผา ถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากที่สุด คนที่เรียนต้องมีใจรัก และต้องมีมานะอย่างมาก ไม่อย่างนั้นจะท้อใจเลิกเรียนไปเสียก่อน ส่วนกู่เจิ่งแม้จะง่ายตอนเริ่มต้น แต่ในระดับลึกแล้ว การเรียนก็มีความยาก จึงต้องอาศัยการมีใจรักเช่นเดียวกัน และอย่าเลือกเรียนเพราะคิดว่าเป็นแฟชั่นเท่านั้นอย่างไรก็ดี สำหรับการเผยแพร่วัฒนธรรมจีนผ่านเครื่องดนตรีและเพลงจีนนี้ ปัจจุบันจีนได้ใช้กลยุทธ์การเผยแพร่ผ่านวงดนตรี หรือ การแสดงอุปรากรจีน รวมถึงมีการออกเป็นเทปเพลง ซีดีเพลงเพื่อเผยแพร่ไปทั่วโลก วงดนตรีชื่อดังที่มีชื่อเสียงมากก็เช่น วงตงฟาน หรือแม้กระทั่งวง Twelve Girl ที่จะไปเปิดการแสดงสดในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีคนจีนโพ้นทะเลจำนวนมากได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย แคนาดา และทุกประเทศที่มีคนจีนอาศัยอยู่
ขณะที่เครื่องดนตรีประเภท ดีด ของจีน เวลานี้นับว่าเป็นที่นิยมไปทั่วโลกเช่นกัน โดยเฉพาะที่รู้จักกันดีมากคือ กู่เจิ่งหรือ กูเจิง หรือจระเข้จีนโบราณ คนจีนจะเรียกว่า เจิ่ง เดิมคนที่เป็นบัณฑิตเท่านั้นถึงจะได้เล่นกู่เจิ่ง ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดนี้จะมีโทนเสียงที่ตั้งไว้แบบเฉพาะเจาะจง จึงเหมาะในการเล่นเพลงโบราณของจีนโดยเฉพาะ กู่เจิ่งจึงเป็นเครื่องดนตรีเดียวของจีน ที่เครื่องดนตรีอื่นต้องปรับเสียงให้เข้ากับกู่เจิ่งในการแสดงแบบวงดนตรี ซึ่งจีนได้แก้ไขปัญหานี้โดยใช้กู่เจิ่ง 2 หลังในการแสดงแบบวงดนตรี เพื่อเล่นโทนเสียงได้มากขึ้น ขณะเดียวกันจีนก็มีเครื่องดีดที่เด่นมากอีกชนิดหนึ่งคือ พิณผี่ผา มีบทบาทเด่นในการเป็นเครื่องดนตรีที่ให้ความบันเทิง มีลักษณะเหมือนลูกแพร์ผ่าซีกคือตอนเล่นต้องวางตั้งฉากกับพื้น เป็นเครื่องเล่นที่สามารถเล่นเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยวได้ เดิมเป็นเครื่องดนตรีของทางตะวันออกกลาง แต่มีการเผยแพร่เข้าจีน และอยู่ในจีนเป็นพันปี ปัจจุบันเป็นเครื่องดนตรีสำคัญของจีนชนิดหนึ่ง
พิณผี่ผาเรียนยากสุด-ต้องใจรัก
การเล่นพิณผี่ผา มีเทคนิคที่ซับซ้อนและพัฒนาไปจากโบราณมาก คือสามารถเล่นได้ทั้งมือซ้าย มือขวา ดึงดันสาย และนักประพันธ์เพลงจีนปัจจุบันได้แต่งเพลงให้สำหรับเล่นกับพิณผี่ผาจำนวนมาก แต่การเล่นพิณผี่ผานั้นเล่นยาก คนจึงนิยมเล่นน้อย พิณผี่ผานั้นสามารถเรียนได้ตั้งแต่เด็กอายุ 4-5 ขวบ เพราะมีไซส์ขนาดเล็ก แต่ในเมืองไทยมีแต่คนที่โตแล้วมาเรียน ส่วนใหญ่แล้วหากจะเรียนดนตรีจีนในหลาย ๆ ประเภท ปัจจุบันไม่มีแหล่งเรียนมากนัก มีเฉพาะในระดับวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย เท่านั้น ยกเว้น กู่เจิ่ง ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนพิเศษเปิดสอนขึ้นมาโดยทั่วไป แต่จะเป็นการเรียนเล่นในเพลงง่าย ๆ เพื่อให้เป็นเร็วอย่างไรก็ดีเครื่องดนตรีจีนทั้งหมด พิณผี่ผา ถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากที่สุด คนที่เรียนต้องมีใจรัก และต้องมีมานะอย่างมาก ไม่อย่างนั้นจะท้อใจเลิกเรียนไปเสียก่อน ส่วนกู่เจิ่งแม้จะง่ายตอนเริ่มต้น แต่ในระดับลึกแล้ว การเรียนก็มีความยาก จึงต้องอาศัยการมีใจรักเช่นเดียวกัน และอย่าเลือกเรียนเพราะคิดว่าเป็นแฟชั่นเท่านั้นอย่างไรก็ดี สำหรับการเผยแพร่วัฒนธรรมจีนผ่านเครื่องดนตรีและเพลงจีนนี้ ปัจจุบันจีนได้ใช้กลยุทธ์การเผยแพร่ผ่านวงดนตรี หรือ การแสดงอุปรากรจีน รวมถึงมีการออกเป็นเทปเพลง ซีดีเพลงเพื่อเผยแพร่ไปทั่วโลก วงดนตรีชื่อดังที่มีชื่อเสียงมากก็เช่น วงตงฟาน หรือแม้กระทั่งวง Twelve Girl ที่จะไปเปิดการแสดงสดในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีคนจีนโพ้นทะเลจำนวนมากได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย แคนาดา และทุกประเทศที่มีคนจีนอาศัยอยู่
สุนทรียรส ด้านเสียง ดนตรีจีน
เสียงดนตรีของจีนคิดขึ้นมาอย่างมีระบบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์
สอดคล้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
เสียงดนตรีของจีนเกิดขึ้นมาจากเสียงพื้นฐานเพียง 1 เสียง เรียกว่า huang
chung เกิดจากการเป่าลมผ่านท่อไม้ไผ่ 1 ฟอน
(ใบ) เสียงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น มาจากการตัดไม้ไผ่ด้วยความยาวต่าง ๆ กัน
โดยใช้ระบบการวัดที่มีอัตราส่วนแน่นอนเหมือนกับสูตรทางคณิตศาสตร์
จากเสียงพื้นฐานเพียง 1 เสียง จะนำไปสร้างให้เกิดเสียงต่าง ๆ
อีกจนครบ 12 เสียง หรือ 12 ใบ
นักวิชาการทางดนตรีเชื่อว่า เสียงทั้ง 12 เสียงของจีนที่เกิดขึ้นมานั้น
มีความเกี่ยวพันกับราศี 12 ราศี เดือน 12 เดือน ชั่วโมงของเวลากลางวันและกลางคืน รวมทั้งการแบ่งเพศชายและหญิงด้วย
ระบบเสียง 5 เสียง ที่พบในดนตรีจีนถือสารเลือกเสียง 12
เสียงที่เกิดขึ้น
นำไปจัดรูปแบบใหม่ให้เป็นบันไดเสียงที่ต้องการเพื่อนำไปใช้สร้างเพลงต่าง ๆ ต่อไป
เครื่องดนตรี จีน
ซอเอ้อหู
เอ้อหูหรือซออู้(ซอสองสาย)เป็นเครื่องดนตรีจีนประเภทสีที่มีชื่อเสียง
เริ่มมีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง(คริสต์ศตวรรษที่7-คริสต์ศตวรรษที่10)
เวลานั้นเอ้อหูเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นในหมู่ชนชาติส่วนน้อยที่พำนักอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
ในประวัติวิวัฒนการนานกว่า 1,000 ปีนั้น
ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบในวงงิ้วโดยตลอด
ซอสองสายมีโครงสร้างง่ายมาก มีคันซอที่ทำด้วยไม้ด้ามเล็กๆ
ยาวประมาณ 80 ซม. บนคันซอมีสายซอ 2 สาย
ใต้คันมีกระบอกเสียงของซอรูปร่างแบบถ้วยน้ำชา นอกจากนี้
ยังมีคันซักซอที่ทำด้วยหางม้า เวลาบรรเลง ผู้บรรเลงจะใช้ท่านั่ง มือซ้ายถือตัวซอ
มือขวาถือคันซักซอ ระดับเสียงของซอสองสายจะกว้างถึง 3 ช่อง
เสียงของซอสองสายสามารถแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกได้เต็มเปี่ยม
ซอสองสายมีเสียงคล้ายเสียงคน จึงเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเหมือน การร้องเพลง
บางคนขนานนามว่าเป็น“ไวโอลินจีน” เนื่องจากเสียงซอมีความเศร้าในตัว
จึงมักเอามาบรรเลงเพลงที่เน้นอารมณ์ซาบซึ้ง

หลังปีค.ศ. 1949
การผลิต ปรับปรุงและเทคนิคการบรรเลงซอ ได้รับการพัฒนาอย่างมาก
ซอสองสายสามารถบรรเลงเดี่ยว และยังสามารถบรรเลงประกอบเพลงระบำ งิ้วและเพลงปกิณกะ
ในวงดนตรีประเภทปี่และซอของจีน ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีหลัก
เท่ากับเครื่องไวโอลินในวงดนตรีตะวันตก เนื่องจากวิธีการผลิตซอสองสายง่าย เรียนเป็นเร็วและฝึกง่าย
ทั้งมีเสียงใสไพเราะ จึงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวจีนทั่วไป


ซอปั่นหู
ซอปั่นหูมีชื่ออื่นว่า”ปังหู” “ฉินหู”เป็นซอที่
เกิดขึ้นจากพื้นฐานของขิมหูฉินพร้อมๆกับการพัฒนาของละครงิ้วท้องถิ่น”ปังจื่อเชียง” เมื่อเทียบกับขิมหูฉินชนิดอื่นๆของจีน
ลักษณะเด่นของซอปั่นหูก็คือมีเสียงดังกังวานและเสียงใส
เหมาะสำหรับแสดงอารมณ์ความรู้สึกตื่นเต้น รุนแรงและเข้มแข็งมีพลัง
ขณะเดียวกันซอปั่นหูก็สามารถบรรเลงท่วงทำนองที่ไพเราะและละเอียดด้วย

ซอปั่นหูมีประวัตินานกว่า
300 ปี โดยที่กล่องซอทำขึ้นด้วยการยึดแผ่นไม้บางๆหลายแผ่นติดกัน
จึงได้ชื่อเป็นซอปั่นหู(ปั่นแปลว่าไม้แผ่น)


ซอเกาหู
เกาหูเป็นชื่อรวมของเครื่องดนตรีซอสองสายเสียงสูง
ดัดแปลงจากซออู้หรือซอสองสาย เกาหูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับดนตรีกวางตุ้ง
ดนตรีพื้นบ้านชนิดหนึ่งของจีน
ดนตรีกวางตุ้งเป็นดนตรีที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีพื้นบ้านในเขตกวางตุ้งของจีน กำเนิดขึ้นจากงิ้วท้องถิ่นและดนตรีพื้นบ้าน ตั้งแต่แรกเริ่มดนตรีกวางตุ้งไม่มีเครื่องดนตรีเกาหู ถึงทศวรรษ 1920 นายหลู่ เหวินเฉิง นักแต่งเพลงและนักดนตรีกวางตุ้งได้ดัตแปลงซออู้ เปลี่ยนสายซอจากสายไหมเป็นสายเหล็กกล้า ยกตำแหน่งของสายกำหนดเสียงให้สูงขึ้น เวลาบรรเลงจะใช้เข่าสองข้างหนีบตัวซอ ซอสองสายเสียงสูงที่มีเสียงใสและสูงชนิดนี้ ก็เรียกกันว่า เกาหู และกลายเป็นเครื่องดนตรีหลักในดนตรีกวางตุ้ง
ดนตรีกวางตุ้งเป็นดนตรีที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีพื้นบ้านในเขตกวางตุ้งของจีน กำเนิดขึ้นจากงิ้วท้องถิ่นและดนตรีพื้นบ้าน ตั้งแต่แรกเริ่มดนตรีกวางตุ้งไม่มีเครื่องดนตรีเกาหู ถึงทศวรรษ 1920 นายหลู่ เหวินเฉิง นักแต่งเพลงและนักดนตรีกวางตุ้งได้ดัตแปลงซออู้ เปลี่ยนสายซอจากสายไหมเป็นสายเหล็กกล้า ยกตำแหน่งของสายกำหนดเสียงให้สูงขึ้น เวลาบรรเลงจะใช้เข่าสองข้างหนีบตัวซอ ซอสองสายเสียงสูงที่มีเสียงใสและสูงชนิดนี้ ก็เรียกกันว่า เกาหู และกลายเป็นเครื่องดนตรีหลักในดนตรีกวางตุ้ง
ปี่โหว


เซียว
เซียว
มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า ตุ้งเซียว เป็นเครื่องดนตรีโบราณของจีน
ตั้งแต่หลายพันปีก่อน เซียวก็เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่แพร่หลายในจีนแล้ว
เมื่อเริ่มมีเครื่องดนตรีไผ เซียว(pipe of pan)ในหลายพันปีก่อนนั้น
ผู้คนพบว่า เจาะรูที่มีช่องว่างต่างกันในตัวขลุ่ยเลาเดียวกัน
ก็สามารถเป่าเสียงที่มีความสูงต่ำไม่เท่ากันได้ จึงเกิดเซียว
ขลุ่ยเลาเดี่ยวที่มีหลายรูขึ้น เซียวในปัจจุบันมีขึ้นเมื่อสมัยราชวงศ์ฮั่น
สมัยนั้นเรียกว่า“เชียงตี๋ ”เดิมเป็นเครื่องดนตรีของชนชาติเชียงที่อยู่ในเขตพื้นที่เสฉวนและกันซู่
ก่อนคริสต์ศักราช 1 ศตวรรษ
เซียวแพร่ไปถึงเขตลุ่มแม่น้ำหวางเหอ พัฒนาเป็นขลุ่ย 6 รู
กว่านจือ
กว่านจือ”เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าเป็นเลาที่มีลิ้นสองอัน
มีประวัติมาเป็นเวลานานแล้ว “กว่านจือ” เริ่มมีขึ้นในเปอร์เซียสมัยโบราณ คือประเทศอิหร่านในปัจจุบัน
ในสมัยโบราณจีนเรียกว่า “บี้ลี่”หรือ”หลูกว่าน ” ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อกว่าสองพันปีก่อน
“กว่านจือ”เป็นเครื่องดนตรีธรรมดาในเขตอุยกูซินเกียงของจีนแล้ว
ต่อมา “กว่านจือ”ได้ค่อยแพร่เข้าสู่เขตภาคกลางของจีน
โดยผ่านการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา
วิธีการบรรเลงได้การพัฒนาไปและมีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ปัจจุบัน “กว่านจือ”ยังเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในภาคพื้นเมืองของจีน
และเป็นเครื่องดนตรีที่บรรดาผู้คนนิยมใช้ในทางภาคเหนือของจีน
ซุน
ซุนเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่อเป่าโบราณที่สุดของจีน
มีประวัติกว่า 7 พันปีแล้ว
ซุนเริ่มมีขึ้นจากเครื่องมือล่าสัตว์ที่เรียกว่า”หลิวซิงสือ”
ในสมัยดึกดำบรรพ์ มนุษยได้ใช้เชือกผูกกับก้อนหินหรือก้อนดิน
เพื่อขว้างไปล่านกหรือสัตว์ บองก้องเป็นกลวง เมื่อรำแล้วจะมีเสียงออก ต่อมา
มีบางคนรู้สึกสนุก จึงเอามาเป่า แล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นซุน
ซุนในขั้นต้นส่วนใหญ่ทำด้วยหินหรือกระดูกสัตว์
ต่อมาจึงค่อยๆพัฒนาและทำด้วยเครื่องปั้นดินเผา และมีรูปร่างหลายชนิต เช่น
รูปแบนกลม รูปกลมรี รูปวงกลม รูปปลาและรูปสาลี่เป็นต้น ในจำนวนนี้รูปสาลี่มีมากกว่าเซิงเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่เก่าแก่ของจีน
มีประวัตินานที่สุดที่ใช้ลิ้นเป็นเอกเทศในโลก
และเคยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเครื่องดนตรีตะวันตกด้วย
เมื่อปี1978 ที่สุสานโบราณเจิงโหวอี่ อำเภอสุย มณฑลหูเป่ยของจีนได้ขุดพบผาวเซิง เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่มีอายุกว่า2400ปี เป็นเซิงที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในจีนปัจจุบัน
ต้นกำเนิดของเซิงนั้นสามารถย้อนหลังไปถึงกว่าสามพันปีก่อน ระยะแรก เซิงมีลักษณะคล้ายขลุ่ย ไม่มีแผ่นลิ้นและเต้า แค่ใช้เชือกและกรอบไม้มัดรวมหลอดไม้ไผ่ที่ออกเสียงไม่เหมือนกันไว้ด้วยกัน ต่อมาจึงได้เพิ่มแผ่นลิ้นไม้ไผ่และเต้า ทำให้เซิงเริ่มแตกต่างไปจากขลุ่ยแดง เต้าทำมาจากน้ำเต้า ปากที่เป่าทำด้วยไม้ หลอดไม้ไผ่ที่มีความยาวไม่เท่ากันสิบกว่าหลอดเรียงเป็นรูปเกือกม้าอยู่บนเต้าเซิงน้ำเต้า หลังสมัยราชวงศ์ถัง นักดนตรีได้ปรับปรุงทำตัวเซิงด้วยไม้ ต่อมาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลง วัสดุที่ใช้จึงเปลี่ยนจากไม้เป็นทองแดง ขณะเดียวกัน แผ่นลิ้นก็เริ่มทำด้วยทองแดงแทนไม้ไผ่
เมื่อปี1978 ที่สุสานโบราณเจิงโหวอี่ อำเภอสุย มณฑลหูเป่ยของจีนได้ขุดพบผาวเซิง เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่มีอายุกว่า2400ปี เป็นเซิงที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในจีนปัจจุบัน
ต้นกำเนิดของเซิงนั้นสามารถย้อนหลังไปถึงกว่าสามพันปีก่อน ระยะแรก เซิงมีลักษณะคล้ายขลุ่ย ไม่มีแผ่นลิ้นและเต้า แค่ใช้เชือกและกรอบไม้มัดรวมหลอดไม้ไผ่ที่ออกเสียงไม่เหมือนกันไว้ด้วยกัน ต่อมาจึงได้เพิ่มแผ่นลิ้นไม้ไผ่และเต้า ทำให้เซิงเริ่มแตกต่างไปจากขลุ่ยแดง เต้าทำมาจากน้ำเต้า ปากที่เป่าทำด้วยไม้ หลอดไม้ไผ่ที่มีความยาวไม่เท่ากันสิบกว่าหลอดเรียงเป็นรูปเกือกม้าอยู่บนเต้าเซิงน้ำเต้า หลังสมัยราชวงศ์ถัง นักดนตรีได้ปรับปรุงทำตัวเซิงด้วยไม้ ต่อมาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลง วัสดุที่ใช้จึงเปลี่ยนจากไม้เป็นทองแดง ขณะเดียวกัน แผ่นลิ้นก็เริ่มทำด้วยทองแดงแทนไม้ไผ่
หยางฉิน
ขิมหยางก็เรียกว่า“ขิมฝรั่ง” เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่งของจีน
มีเสียงบรรเลงที่ชัดและเพราะ สามารถแสดงได้หลากหลายทั้งบรรเลงเดี่ยว บรรเลงพร้อมกัน
หรือบรรเลงประกอบการร้องเพลงหรือการแสดงงิ้วเป็นต้น
มีบทบาทสำคัญมากในการบรรเลงดนตรีพื้นเมืองและในวงดนตรีชนชาติ
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ก่อนศตวรรษกลาง ประเทศอาหรับโบราณต่างๆ เช่น ย่าซู่และเปอร์เซียเป็นต้นของตะวันออกกลางนิยมเล่นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่ง ชื่อขิมซ่าไท่หลี่ สมัยราชวงศ์หมิง(ปีค.ศ.1368-1644) เมื่อจีนกับเอเซียตะวันตกและเอเซียตะวันออกได้พัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ขิมซ่าไทหลี่ได้แพร่หลายเข้าสู่ประเทศจีน ทางเรือจากเปอร์เซีย ตอนแรกนิยมกันในแถวมณฑลกวางตุ้ง ต่อมาได้กระจายแพร่หลายไปถึงท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศจีน ผ่านการปรับปรุงของศิลปินพื้นเมืองของจีน ขิมซ่าไท่หลี่ได้กลายเป็นเครื่องดนตรีชนชาติของจีน ซึ่งก็คือขิมหยาง
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ก่อนศตวรรษกลาง ประเทศอาหรับโบราณต่างๆ เช่น ย่าซู่และเปอร์เซียเป็นต้นของตะวันออกกลางนิยมเล่นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่ง ชื่อขิมซ่าไท่หลี่ สมัยราชวงศ์หมิง(ปีค.ศ.1368-1644) เมื่อจีนกับเอเซียตะวันตกและเอเซียตะวันออกได้พัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ขิมซ่าไทหลี่ได้แพร่หลายเข้าสู่ประเทศจีน ทางเรือจากเปอร์เซีย ตอนแรกนิยมกันในแถวมณฑลกวางตุ้ง ต่อมาได้กระจายแพร่หลายไปถึงท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศจีน ผ่านการปรับปรุงของศิลปินพื้นเมืองของจีน ขิมซ่าไท่หลี่ได้กลายเป็นเครื่องดนตรีชนชาติของจีน ซึ่งก็คือขิมหยาง
พิณหลิว
พิณหลิวเป็นเครื่องดนตรีประเภทพิณชนิดหนึ่ง
เนื่องจากทำด้วยไม้หลิว และมีสัณฐานคล้าย ๆ กับใบหลิว จึงได้รับชื่อเรียกว่า
พิณหลิวหรือ”พิณใบหลิว”
สัณฐานและโครงสร้างของพิณหลิวเหมือนกับพิณโบราณของจีนมาก
แรกเริ่มเดิมที พิณหลิวมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน
และมีรูปร่างเรียบง่ายแบบพื้นเมือง ชาวบ้านจีนจึงเรียกว่า” ถู่ผีผา”
แปลว่า ”พิณชาวบ้าน” พิณชาวบ้านชนิดนี้ใช้แพร่หลายในแถบมณฑลซานตง
อันฮุยและเจียงซู เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบละครงิ้วท้องถิ่น
คงโห
คงโหเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายใช้ดีดสายพิณเก่าแก่ของจีน
มีประวัติอันยาวนานกว่า 2,000 ปี
นอกจากเป็นเครื่องเล่นดนตรีของวงดุริยางค์ในพระราชวัง
คงโหยังแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปด้วย
ในสมัยที่เจริญรุ่งเรืองของราชวงศ์ถัง(ปีค.ศ.618 – 907) เมื่อเศรษฐกิจและวัฒนธรรมพัฒนาอย่างรวดเร็ว
ศิลปะการบรรเลงคงโหก็พัฒนาไปสู่ระดับสูง สมัยนั้น
คงโหได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นเกาหลีและประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆของจีนตามลำดับ
ทุกวันนี้ ในวัด**ของญี่ปุ่น ยังมีซากคงโหสองอันตั้งแสดงไว้ แต่ว่า
หลังจากปลายศตวรรษที่ 14 เครื่องดนตรีเก่าแก่ชนิดนี้ก็ไม่เป็นที่นิยม
จนค่อย ๆ สูญหายไป ผู้คนจะได้เห็นเพียงรูปวาดคงโหบางอย่างบนจิตรกรรมฝาผนังเท่านั้น
ระฆังชุด (เพียนจง)
ระฆังชุดเป็นเครื่องตีที่สำคัญในสมัยโบราณของจีน
ระฆังชุดประกอบด้วยระฆังต่างๆที่มีขนาดใหญ่เล็กหลายใบ
แขวนไว้บนที่ตั้งไม้ตามลำดับและเรียงเป็นหน่วยหนึ่งหรือหลายหน่วย
ความดังของเสียงเคาะของแต่ละใบก็ไม่เหมือนกัน เนื่องจากสมัยต่างกัน
รูปร่างของระฆังชุดก็ไม่เหมือนกัน บนตัวระฆังมักจะมีภาพวาดที่ละเอียดสวยงาม
ขลุ่ยน้ำเต้า
ขลุ่ยน้ำเต้าเป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องเป่าของชนชาติส่วนน้อย
ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเช่นชนชาติไต่ ชนชาติอาชาง
ชนชาติหว่าเป็นต้นนิยมมากที่สุดและใช้บ่อยที่สุด
ขลุ่ยน้ำเต้ามีประวัตอันยาวนาน ต้นกำเนิดสามารถย้อนกลับไปถึงสมัยราชวงศ์ฉิน(ก่อนปี221ก่อนคริสต์กาล) ขลุ่ยน้ำเต้าของปัจจุบันยังคงรักษาลักษณะพิเศษทางโครงสร้างของเครื่องดนตรีประเภทเดียวกันในสมัยโบราณ
ขลุ่ยน้ำเต้ามีประวัตอันยาวนาน ต้นกำเนิดสามารถย้อนกลับไปถึงสมัยราชวงศ์ฉิน(ก่อนปี221ก่อนคริสต์กาล) ขลุ่ยน้ำเต้าของปัจจุบันยังคงรักษาลักษณะพิเศษทางโครงสร้างของเครื่องดนตรีประเภทเดียวกันในสมัยโบราณ
กลอง
กลองเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ใช้เป็นประจำของจีน
กลองมีปรากฏมาเป็นเวลานานมาก ดูจากโบราณวัตถุที่ได้พบในปัจจุบัน
สามารถบอกได้ว่ากลองมีประวัติประมาณ3000ปี ในสมัยโบราณ
กลองไม่เพียงแต่ใช้ในการเซ่นไหว้และการเต้นรำเท่านั้น ยังใช้เพื่อโจมตีศัตรู
ขับไล่สัตว์ป่า และยังเป็นอุปกรณ์บอกเวลาและแจ้งเหตุร้าย เมื่อสังคมได้พัฒนาไป
ขอบเขตการใช้กลองก็กว้างขวางขึ้น วงดนตรีพื้นเมือง ละครงิ้วต่างๆ การเต้นรำ
การแข่งเรือ
การชุมนุมและการแข่งขันการทำงานเป็นต้นต่างก็ขาดเครื่องดนตรีประเภทกลองเสียไม่ได้
ขลุ่ยไม้ไผ่
ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ได้รับความนิยมในจีน
เนื่องจากทำด้วยไม้ไผ่ธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า“ขลุ่ยไม้ไผ่” ขลุ่ยทำด้วยหลอดไม้ไผ่ท่อนหนึ่ง ข้างในทะลวงข้อทิ้ง
ตัวหลอดมีรูเป่าหนึ่งรู รูปิดเยื่อไผ่หนึ่งรู รูเสียงหกรู
รูเป่าเป็นรูอันแรกของขลุ่ย ลมเป่าเข้าทางนี้
ทำให้อากาศภายในหลอดสั่นสะเทือนออกมาเป็นเสียง รูเยื่อเป็นรูอันที่สองของขลุ่ย
ใช้เฉพาะปิดเยื่อไผ่ เยื่อขลุ่ยส่วนมากทำด้วยเยื่อต้นอ้อและเยื่อไม้ไผ่
เยื่อขลุ่ยเมื่อได้รับการสั่นสะเทือนของลมที่เป่าเข้าไป
จะออกเสียงดนตรีนุ่มนวลและไพเราะ
กู่เจิง
กู่เจิงเป็นเครื่องสายดีดโบราณของจีนซึ่งมีประวัติยาวนานประมาณ
2500 ปี โดยเริ่มแรกจากสมัยจ้านกั๋ว
เป็นเครื่องดนตรีเมืองฉิน(ปัจจุบันคือเมืองสั่นซี)
ชื่อกู่เจิงมาจากเสียงของเครื่องดนตรีที่เวลาดีดจะมีเสียง “zheng zheng” ในสมัยก่อนเรียกว่า เจิ้น
คำว่ากู่หมายถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและสะท้อนวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนโบราณ
เมื่อ 2500 ปีก่อน
ทำจากไม้และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องถึงสมัยฮั่นเป็น 12 สาย
สมัยถานและซ้งเป็น 13 สาย สมัยชิงเป็น 16สายจนถึง ค.ศ. 1960 ได้พัฒนาเป็น 18 21 23 และ 26 แต่ส่วนมากปัจจุบันนิยมใช้ 21 สายเพราะบันไดเสียงมีความเหมาะสมไม่ขาดไม่เกิน
ผีผา
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด
ที่มีความเป็นมายาวนานมาก เป็นตัวแทนของเครื่องสายดีดทุกประเภท
ซึ่งได้สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันยาวนานของจีน
ลักษณะของผีผามีการพัฒนามาโดยตลอดในสมัยโบราณลักษณะของพิณพระจันทร์ หลิ่วฉิน
เยี่ยฉินและ พิณสามสายทั้งหมดถูเรียกว่า ผีผา หลังจากที่มีการพัฒนามากขึ้นก็ได้มีการกำหนดชื่อของแต่ละรูปร่างของผีผาอย่างชัดเจน
ซึ่งผีผาที่เห็นในรูปนี้ก็คือ ผีผา ในปัจจุบัน
ส่วนหลิ่วฉินและพิณพระจันทร์ได้ถูกเรียกตามชื่อของแต่ละเครื่องแตกต่างกันไป
ในสมัยโบราณผีผามีแค่ 4 ช่อง และใช้ปิกในการบรรเลง
รูปแบบการแสดงหลากหลาย สมัยถันประมาณ ค.ศ. 627 ในช่วงนั้นมีนักดนตรีคนหนึ่งใช้นิ้วในการบรรเลงโดยไม่ใช้ปิก
นี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของเทคนิคการบรรเลงของผีผา
ทำให้เกิดการพัฒนาเทคนิคต่างๆในการบรรเลงอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมาจนถึงเมื่อ 60
ปีก่อน เป็นช่วงที่ผีผาได้รับการพัฒนาให้เป็นแบบสากลมากยิ่งขึ้นรูปร่างของผีผาถูกเปลี่ยนเป็น
4 เซี่ยง (คอผีผา)และ 12 ปิ่น(หน้าไม้ของผีผา)
แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ผีผาจึงได้รับการพัฒนาต่อมาเป็น 6 เซี่ยง 24 ปิ่น ซึ่งบันไดเสียงเป็น 12 คีย์เท่ากับสากล มีความโดดเด่นในการบรรเลงเพลงเดี่ยวและเป็นเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้ในวงดนตรีจีนในปัจจุบันเป็นเครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงระดับโลก
พิณพระจันทร์
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายดีด
ชื่อภาษาจีนเรียกว่า หยวน ในสมัยโบราณมีชื่อว่า ผีผา ต่อมาพิณพระจันทร์ได้มีชื่อเรียกที่ชัดเจนขึ้นและรูปร่างแตกต่างจากผีผาอย่างชัดเจน
ตามรูป รูปร่างปัจจุบันมี 3 แบบ คือ ต้าหยวน จงหยวนและเซี่ยวหยวน
ตามลักษณะขนาดจากใหญ่ กลางและเล็ก
ความโดดเด่นของเครื่องดนตรีชิ้นนี้คือได้รับฉายาว่า กีต้าร์จีน
ซึ่งเสียงจะคล้ายๆกีต้าร์โปร่ง มีความสามารถในการบรรเลงเดี่ยวและเป็นเสียงผสานในวงดนตรีจีนอีกด้วย
แคนจีน
แคนจีน
ในภาษาจีนเรียกว่า หลูเซิน เป็นเครื่องดนตรีของเผ่าเหมียวจู๋ในจีน
ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลกวางสี เป็นเครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ในสมัยโบราณทำด้วยหวายและถูกพัฒนามาเป็นไม้ไผ่ มีรูปร่างหลายอย่าง
รูปร่างมาตรฐานที่ใช้บรรเลงในวงดนตรีจีนปัจจุบันมีลักษณะดังรูป
มักถูกใช้ในการบรรเลงในเทศกาลต่างๆของเผ่าเหมียวจู๋ เมื่อก่อนมีตั้งแต่ 5
เสียง 10 เสียง ปัจจุบันมี 16 เสียงถึงมากกว่า20 เสียง ตามแต่ขนาดใหญ่ เล็ก
และสามารถแบ่งประเภทของแคนได้ตามลักษณะของเสียงทุ้มและเสียงสูง
ส่วนในภาพที่เห็นคือแคนเสียงสูง 16 เสียง
ซึ่งเป็นมาตรฐานของแคนที่ใช้บรรเลง ความโดดเด่นของเครื่องดนตรีชิ้นนี้
คือการผสานเสียง มีเสียงที่สดใสกังวานและสามารถบรรเลงเพลงเดี่ยวและบรรเลงในวงดนตรีจีนได้
บรรไดเสียง
ระบบเสียงของดนตรีจีน
ระบบเสียงดนตรีในจีนมีการพัฒนาและคลี่คลายมาตลอดเวลากว่า 3,000 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมวัฒนธรรมความเชื่อและอิทธิพลของวัฒนธรรมดนตรีอื่นที่ เข้ามากระทบ
ปัจจุบัน จีนมีทั้งดนตรีที่ใช้ระบบ 5 เสียง 7 เสียง และ 12 ครึ่งเสียงอย่างดนตรีคลาสสิกตะวันตก ระบบเสียงเล่านี้เมื่อนำมาบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีจีนใดๆก็ตาม เสียงที่เปล่งออกมายังคงแสดงถึงเอกลักษณ์ทางดนตรีของจีนไว้ได้เสมอ
จังหวะในดนตรีจีน
จากปรัชญาขงจื้อที่ยึดหลักความสมานฉันท์กับธรรมชาติและวิถีชีวิตที่เรียบ ง่าย สะท้อนมาในการดำเนินจังหวะเพลงของดนตรีจีนด้วย จังหวะดนตรีที่ใช้ส่วนใหญ่จะตรงไปตรงมา มีการแบ่งสัดส่วนจังหวะที่ชัดเจนเป็น 2/4, 4/4, จังหวะ 3 พยางค์ และยังมีจังหวะอิสระ (free rhythm) ในช่วงขึ้นต้นและลงท้ายบทเพลงโดยเฉพาะเพลงร้อง เครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่ประกอบจังหวะมีบทบาทมากในการแสดงดนตรีพิธีกรรมและ ดนตรีกลางแจ้งมากกว่าดนตรีในร่ม รวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบสนับสนุนความชัดเจนของการเคลื่อนไหวของตัวละครในอุปรากรจีนด้วย
ระบบเสียงดนตรีในจีนมีการพัฒนาและคลี่คลายมาตลอดเวลากว่า 3,000 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมวัฒนธรรมความเชื่อและอิทธิพลของวัฒนธรรมดนตรีอื่นที่ เข้ามากระทบ
ปัจจุบัน จีนมีทั้งดนตรีที่ใช้ระบบ 5 เสียง 7 เสียง และ 12 ครึ่งเสียงอย่างดนตรีคลาสสิกตะวันตก ระบบเสียงเล่านี้เมื่อนำมาบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีจีนใดๆก็ตาม เสียงที่เปล่งออกมายังคงแสดงถึงเอกลักษณ์ทางดนตรีของจีนไว้ได้เสมอ
จังหวะในดนตรีจีน
จากปรัชญาขงจื้อที่ยึดหลักความสมานฉันท์กับธรรมชาติและวิถีชีวิตที่เรียบ ง่าย สะท้อนมาในการดำเนินจังหวะเพลงของดนตรีจีนด้วย จังหวะดนตรีที่ใช้ส่วนใหญ่จะตรงไปตรงมา มีการแบ่งสัดส่วนจังหวะที่ชัดเจนเป็น 2/4, 4/4, จังหวะ 3 พยางค์ และยังมีจังหวะอิสระ (free rhythm) ในช่วงขึ้นต้นและลงท้ายบทเพลงโดยเฉพาะเพลงร้อง เครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่ประกอบจังหวะมีบทบาทมากในการแสดงดนตรีพิธีกรรมและ ดนตรีกลางแจ้งมากกว่าดนตรีในร่ม รวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบสนับสนุนความชัดเจนของการเคลื่อนไหวของตัวละครในอุปรากรจีนด้วย
ดนตรีตะวันตก ยุคกรีก
ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์
มนุษย์รู้จักนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
หลังจากที่มนุษย์รู้จักการจดบันทึกข้อมูล
จึงทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาของดนตรี การศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี
ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี
ยุคสมัยต่าง ๆ
เป็นตัวแบ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ บนโลก โดยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์
สมัยอารยธรรมโบราณ สมัยต้นและกลางคริสต์ศตวรรษ สมัยบาโรค สมัยคลาสสิค สมัยโรแมนติค
และสมัยปัจจุบัน การดนตรีในยุคต่าง ๆ ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามาจากยุคใดและมีบทบาทอย่างไร
ดังที่ ละเอียด เหราปัตย์ (2522: 1) กล่าวว่า
ดนตรีในสมัยดึกดำบรรพ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากกว่าในสมัยปัจจุบัน
เป็นการแสดงออกถึงจิตวิทยา สังคม ศาสนา สิ่งสักการะบูชา และภาษา
เพลงทุกเพลงในสมัยดั้งเดิมจะต้องมีความหมายทั้งสิ้น การจะเข้าใจในเพลงนั้น ๆ
อย่างถูกต้องแท้จริงจะต้องไปศึกษาจากชาวพื้นเมืองที่เป็นเจ้าของบทเพลงนั้น
ดนตรีสมัยดึกดำบรรพ์มีหน้าที่ 2 ประการสำคัญ คือ
(1) ก่อให้เกิดความตื่นเต้น เร้าใจ
(2) ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ความสุข
สุนทรียรส ด้านเสียง
ถ้าได้ยินดนตรีที่กระตุ้นอารมณ์ที่ทำให้จิตใจต่ำบ่อยๆเข้าก็ทำให้เขาพลอยมีจิตใจต่ำไปด้วยตรงกันข้ามถ้ามีโอกาสได้ฟังดนตรีที่ช่วยยกระดับจิตใจก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนที่
มีจิตใจสูงดังนั้น เปลโตและอริสโตเติล
มีความคิดเห็นตรงกันในข้อที่ว่าหลักสูตรการศึกษาควรประกอบด้วยวิชากีฬาและดนตรีที่ถูกต้องเพื่อเป็นการฝึกทั้งร่างกายและ
จิตใจ เปลโตสอนว่า “การเรียนดนตรีอย่างเดียวทำให้อ่อนแอและเป็นคนมีปัญหา
การเรียนกีฬาอย่างเดียวทำให้เป็นคนที่อารมณ์ก้าวร้าวและไม่ฉลาด”ยิ่งกว่านั้น
เปล โตยังได้กำหนดไว้ว่า “ดนตรีที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาไม่ควรมีลีลาที่ทำให้อารมณ์อ่อนไหวควรใช้ทำนองที่มีลีลาดอเรียน(Dorian)และฟรีเจียน (Phrygian)”
บันไดเสียง
ยุคสมัยต่าง ๆ
เป็นตัวแบ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ บนโลก โดยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์
สมัยอารยธรรมโบราณ สมัยต้นและกลางคริสต์ศตวรรษ สมัยบาโรค สมัยคลาสสิค สมัยโรแมนติค
และสมัยปัจจุบัน การดนตรีในยุคต่าง ๆ
ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามาจากยุคใดและมีบทบาทอย่างไร ดังที่
ละเอียด เหราปัตย์ (2522: 1) กล่าวว่า
ดนตรีในสมัยดึกดำบรรพ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากกว่าในสมัยปัจจุบัน
เป็นการแสดงออกถึงจิตวิทยา สังคม ศาสนา สิ่งสักการะบูชา และภาษา
เพลงทุกเพลงในสมัยดั้งเดิมจะต้องมีความหมายทั้งสิ้น การจะเข้าใจในเพลงนั้น ๆ
อย่างถูกต้องแท้จริงจะต้องไปศึกษาจากชาวพื้นเมืองที่เป็นเจ้าของบทเพลงนั้น
ดนตรีสมัยดึกดำบรรพ์มีหน้าที่ 2 ประการสำคัญ
คือ
(1) ก่อให้เกิดความตื่นเต้น
เร้าใจ
(2) ทำให้เกิดความผ่อนคลาย
ความสุข
ความเจริญของโลกมีอยู่ในภูมิภาคตะวันออก
ชาติที่มีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น จีน ไทย อินเดีย ฯลฯ
และภูมิภาคยุโรปตะวันออก เช่น อียิปต์ ซุเมอร์ บาบิโลเนียน จูเดีย และกรีก ดนตรีทั้งในเอเซีย
และยุโรปตะวันออก ได้เริ่มมีวิวัฒนการขึ้น โดยมีการคิดค้นบันไดเสียงเพื่อแบ่งแยก
จัดระบบเสียงเป็นของแต่ละชนชาติขึ้นมา
เอกลักษณ์นี้ยังคงมีร่องรอยอยู่ในยุคปัจจุบัน เช่น บันไดเสียงเพนทาโทนิค (Pentatonic Scale) ก็ยังคงมีใช้กันในดนตรีภูมิภาคเอเซีย
แต่มีความแตกต่างไปในสำเนียงและการจัดระบบเสียง ดนตรีกรีกโบราณ
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีของดนตรีตะวันตกที่ยิ่งใหญ่ คือ เมื่อประมาณ 1000
ปีก่อนคริสตกาล มีการคิดค้นการแบ่งระบบเสียงอย่างชัดเจนด้วยแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
โดยนักปราชญ์กรีก คือ พิธากอรัส และมีการคิดเรื่องเครื่องดนตรีประกอบการร้อง
มีการใช้เทคนิคการประพันธ์เพลงโดยใช้ Mode ซึ่งมีที่มาจากระบบเตตร้าคอร์ด
(Tetrachord) ก่อให้เกิดบันไดเสียงโบราณต่างๆ
เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดนตรีในยุคต่อ ๆ มา
Percy A scholes
(อ้างถึงใน นพพร ด่านสกุล,2541:10)
ได้กล่าวถึงการก่อเกิดบันไดเสียงในดนตรีตะวันตกไว้อย่างน่าสนใจ สรุปความว่า
ในราวประมาณ 550 ปีก่อนคริสตกาล Pythagoras ได้ค้นพบวิธีคิดการใช้มาตรวัดเชิงคณิตศาสตร์กับดนตรีได้เป็นคนแรก
โดยใช้เส้นลวดเป็นอุปกรณ์การทดลอง
ซึ่งทำให้เขาพบว่าเสียงที่เกิดจากการดีดเส้นลวดจะทีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
เมื่อแบ่งครึ่งเส้นลวดระดับเสียงจะสูงขึ้นกว่าเดิม 1 ชุดระดับเสียง (Octave) ถือว่าเป็นความสำคัญระดับแรก
เมื่อแบ่งเส้นเส้นลวดเป็น 3 ส่วนแล้ว 2 ใน 3
ส่วนของเส้นลวดจะมีระดับเสียงสูงขึ้นเป็นขั้นคู่ 5 เพอร์เฟ็ค
ในกรณีนี้ถือว่าเป็นความสำคัญระดับรองลงมา และหากว่าแบ่งเส้นลวดออกเป็น 4 ส่วน 3
ใน 4 ส่วนดังกล่าวจะมีระดับเสียงสูงขึ้นจากพื้นเสียงเดิมเป็นขั้นคู่ 4 เพอร์เฟ็ค
กรณีนี้ถือเป็นความสำคัญอันดับ 3 จากนั้น Pythagoras ยังนำเสนอไว้ว่าใน
1 ชุดระดับเสียง ประกอบด้วย กลุ่มเสียง 4 ระดับ (Tetrachord)
2
ชุดเชื่อมต่อกัน กลุ่มเสียง 4 ระดับตามแนวคิดของ Pythagoras
มี 3
รูปแบบดังที่แสดงต่อไปนี้
1. semitone – tone – tone เรียกว่ากลุ่มเสียง
4 ระดับแบบดอเรียน (Dorian Tetrachord)
2. tone - semitone – tone เรียกว่ากลุ่มเสียง
4 ระดับแบบฟรีเจียน (Phrygian Tetrachord)
3. tone – tone – semitone เรียกว่ากลุ่มเสียง
4 ระดับแบบลีเดียน (Lydian Tetrachord)
ความที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้เราทราบว่า พิธากอรัส
ได้ใช้ระเบียบวิธีคิดอย่างสูงเกี่ยวกับการแบ่งระบบของเสียงดนตรี และจากการคิด Tetrachord ชนิดหลักๆ ทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อเรียงต่อ Tetrachord เข้าด้วยกัน 2 ชุดจะก่อให้เกิดบันไดเสียงต่างๆ
ซึ่งบันไดเสียงที่ที่คิดขึ้นได้เรียกว่า บันไดเสียงแบบพิธากอรัส (Pythagorian Scale) และเมื่อมีการขยายความรู้ไปใช้ในการขับร้องหรือเล่นเครื่องดนตรี
ก็จะทำให้เกิดความนิยมเฉพาะกลุ่มจนเป็นชื่อเรียกบันไดเสียงขึ้นมาเฉพาะ เช่น
บันไดเสียงไอโอเนียน (Ionian) ก็มาจากกลุ่มชนไอโอเนียนที่อยู่แถบริมทะเล
บันไดเสียงไอโอเนียนเป็นที่คุ้นกันดีว่าเป็นบันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale) ในยุคปัจจุบันนั่นเอง
อย่างไรก็ดีในเรื่องของโหมด (Mode) หรือบันไดเสียงโบราณนี้ได้รับแนวคิดมาตั้งแต่สมัยกรีกของจริงอยู่
แต่เมื่อถึงยุคกลางแล้วชื่อและลักษณะของระบบไม่ตรงกับระบบของกรีกเลย ดังเช่น
ดอเรียนโหมดของกรีก คือ โน้ต E- E (เทียบจากคีย์บอร์ดแป้นสีขาวทั้งสิ้น)
แต่ดอเรียนโหมดของยุคกลาง คือ โน้ต D- D ซึ่งวิวัฒนาการเหล่านี้เป็นผลมาจากความนิยมในการใช้ทั้งสิ้น
ตัวอย่างต่อไปนี้มาจากหนังสือ The Music of
Early Greece โดย Beatric Perham (1937:24)
ได้แสดงบันไดเสียงกรีกโบราณทั้ง 3 ประเภทดังนี้
Dorian = E D CB, A G FE
Phrygian = D CB A G FE D
Lydian = CB A G FE D C
หมายเหตุ การไล่บันไดเสียงดังกล่าวเป็นตามนิยมของกรีกคือ การไล่ลง (Descending Scale) และโน้ตที่ชิดกันคือระยะครึ่งเสียง(semitone) โน้ตที่ห่างกัน คือ ระยะเต็มเสียง (tone)จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์
พบว่าโครงสร้างทางดนตรีตะวันตกได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีของชนชาติกรีกซึ่งเป็นชนชาติโบราณที่มีอารยธรรมสูงส่ง
กรีกได้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ไว้มากมาย
ทั้งในด้านคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปะดนตรี
เมื่อกรีกกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน วัฒนธรรมด้านดนตรี
ทั้งหมดจึงถูกถ่ายทอดไปสู่โรมัน เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย วัฒนธรรมดนตรีที่โรมันรับมาจากกรีก
ได้แพร่กระจายไปสู่ชนชาติต่างๆ ทั่วภาคพื้นยุโรป ครั้นเมื่อคริสต์ศาสนาเกิดขึ้น
ดนตรีก็ยิ่งมีบทบาทควบคู่เป็นเงาตามตัวไปด้วย
ยุคสมัยประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตกแบ่งออกเป็นช่วงระยะเวลา
แต่ละช่วงระยะเวลาหรือแต่ละสมัย มีลักษณะผลงานทางดนตรีที่แตกต่างกันออกไป
ประวัติศาสตร์ดนตรีเริ่มตั้งแต่สมัยกลาง สมัยเรเนสซองส์ สมัยบาโรค สมัยคลาสสิก
สมัยโรแมนติก สมัยอิมเพรสชั่นนิสติค และสมัยศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่ยุคกลางจนถึงยุคปัจจุบันมีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่
ๆ ทางด้านดนตรีตะวันตกเรื่อยมา อาทิ ทฤษฎีดนตรี โครงสร้างของดนตรี
เครื่องดนตรีและวงดนตรีมาตรฐาน เทคนิคการเล่นเครื่องแต่ละชนิด การประสานเสียง
และการประพันธ์เพลง เป็นต้น


สรุป
ดนตรีจีน
กับ ดนตรีสากล ต่างกันหลายประการเช่น ระบบเสียงของดนตรี
ประเภทของเครื่องดนตรี เทคนิคการบรรเลง เทคนิคการขับร้อง
สัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกทำนองเพลง การเป็นทียอมรับ ฯลฯ
สรุปความสำคัญได้ดังนี้
ดนตรีสากล
- ระบบเสียงของดนตรีสากล มีอยู่ทั้งหมด 12 ครึ้งเสียง โด - โดชาร์ป - เร - เรชาร์ป - มี - ฟา - ฟาชาร์ป - ซอล - ซอลชาร์ป - ลา -ลาชาร์ป - ที - โด (มี 7 เสียงหลัก คือ โด - เร - มี - ฟา -ซอล -ลา -ที) ระบบเสียงดนตรีสากล มีระยะห่างของเสียงไม่เท่ากัน มีระยะห่างครึ่งเสียงที่เสียง มี-ฟา และ ที-โด ส่วนขั้นอื่นห่างกัน 1 เสียงเต็มตลอด ระบบเสียงจะมีบันไดเสียงต่าง ๆ ตามหลักการของดนตรีสากล
-ประเภทของเครื่องดนตรีสากลแบ่งเป็น 5 ประเภท ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ คือ
1.เครื่องสาย (String Instruments) เช่น กีตาร์ ไวโอลิน แบนโจ ฯลฯ
2.เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments) เช่น ฟลุ้ต ปิคโคโล แซกโซโฟน ฯลฯ
3.เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Instruments) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา ฯลฯ
4.เครื่องคีย์บอร์ด (Keyboard Instruments) เช่นเปียโน ออร์แกน เมโลเดี้ยน ฯลฯ
5.เครื่องกระทบ (Percussion Instruments) เช่น เบลไลร่า ทิมปานี กลองชนิดต่าง ฯลฯ
- เทคนิคการบรรเลง
ดนตรีสากลมีวิธีการบรรเลงที่แตกต่างไปจากดนตรีจีนอย่างเห็นได้ชัด มีการประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น จะมีเทคนิคการบรรเลงเป็นของตัวเอง
-เทคนิคการขับร้อง
มีการขับร้องแบบประสานเสียง 2 แนว 3 แนว 4 แนว
สรุปความสำคัญได้ดังนี้
ดนตรีสากล
- ระบบเสียงของดนตรีสากล มีอยู่ทั้งหมด 12 ครึ้งเสียง โด - โดชาร์ป - เร - เรชาร์ป - มี - ฟา - ฟาชาร์ป - ซอล - ซอลชาร์ป - ลา -ลาชาร์ป - ที - โด (มี 7 เสียงหลัก คือ โด - เร - มี - ฟา -ซอล -ลา -ที) ระบบเสียงดนตรีสากล มีระยะห่างของเสียงไม่เท่ากัน มีระยะห่างครึ่งเสียงที่เสียง มี-ฟา และ ที-โด ส่วนขั้นอื่นห่างกัน 1 เสียงเต็มตลอด ระบบเสียงจะมีบันไดเสียงต่าง ๆ ตามหลักการของดนตรีสากล
-ประเภทของเครื่องดนตรีสากลแบ่งเป็น 5 ประเภท ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ คือ
1.เครื่องสาย (String Instruments) เช่น กีตาร์ ไวโอลิน แบนโจ ฯลฯ
2.เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments) เช่น ฟลุ้ต ปิคโคโล แซกโซโฟน ฯลฯ
3.เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Instruments) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา ฯลฯ
4.เครื่องคีย์บอร์ด (Keyboard Instruments) เช่นเปียโน ออร์แกน เมโลเดี้ยน ฯลฯ
5.เครื่องกระทบ (Percussion Instruments) เช่น เบลไลร่า ทิมปานี กลองชนิดต่าง ฯลฯ
- เทคนิคการบรรเลง
ดนตรีสากลมีวิธีการบรรเลงที่แตกต่างไปจากดนตรีจีนอย่างเห็นได้ชัด มีการประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น จะมีเทคนิคการบรรเลงเป็นของตัวเอง
-เทคนิคการขับร้อง
มีการขับร้องแบบประสานเสียง 2 แนว 3 แนว 4 แนว
-สัญลักษณ์ที่ใช้ในการบันทึกทำนองเพลง (โน้ตสากล)
มีวิธีการบรรเลงที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกและถือว่าเป็นภาษาสากลที่ทั่วโลกยอมรับ นักดนตรีทุกคนสามารถสื่อสารกันได้ เพียงแต่เห็นโน้ตก็สามารถเล่นได้
การบันทึกตัวโน้ตก็แตกต่างกันไปตามประเภทของเครื่องดนตรี และใช้กุญแจประจำหลักแตกต่างกันไปตามประเภทของเครื่องดนตรีด้วย
- การเป็นที่ยอมรับ
ดนตรีสากลเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกและมีอยู่ทุกประเทศทั่วโลก
ส่วนดนตรีจีนมีลักษณะดังนี้
มีวิธีการบรรเลงที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกและถือว่าเป็นภาษาสากลที่ทั่วโลกยอมรับ นักดนตรีทุกคนสามารถสื่อสารกันได้ เพียงแต่เห็นโน้ตก็สามารถเล่นได้
การบันทึกตัวโน้ตก็แตกต่างกันไปตามประเภทของเครื่องดนตรี และใช้กุญแจประจำหลักแตกต่างกันไปตามประเภทของเครื่องดนตรีด้วย
- การเป็นที่ยอมรับ
ดนตรีสากลเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกและมีอยู่ทุกประเทศทั่วโลก
ส่วนดนตรีจีนมีลักษณะดังนี้
- ลักษณะดนตรีจีนเป็น Composed music คือ
เป็นดนตรีที่มาจากการประพันธ์แต่ไม่มี
การเขียนโน้ตชัดเจน มีการบันทึกพอเป็นแนวทำนอง ส่วนผู้เล่นเล่นโดยอาศัยการถ่ายทอดปากเปล่า
- ดนตรีพื้นบ้านของจีนไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
- นักดนตรีจีนหวงวิชา นักดนตรีไม่สนใจทฤษฎีดนตรี สนใจแต่เพียงการเล่น
การเขียนโน้ตชัดเจน มีการบันทึกพอเป็นแนวทำนอง ส่วนผู้เล่นเล่นโดยอาศัยการถ่ายทอดปากเปล่า
- ดนตรีพื้นบ้านของจีนไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
- นักดนตรีจีนหวงวิชา นักดนตรีไม่สนใจทฤษฎีดนตรี สนใจแต่เพียงการเล่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น